วารสารวิชาการ

Vol 15, No 1 (2019): มกราคม - เมษายน 2562

วารสารวิชาการ ปี 2019, ปีที่ตีพิมพ์ 2019


ประสิทธิผลการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต้นแบบ ( Effectiveness of the health behavior modification village model development )

Abstract

 

          การศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต้นแบบ เป็นการวิจัยประเมินผล เชิงปริมาณและคุณภาพแบบผสมผสาน (Matrix) โดยการศึกษาเชิงปริมาณ ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐาน กระบวนการพัฒนา ผลลัพธ์และผลกระทบจากการพัฒนาของหมู่บ้านต้นแบบ ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาเชิงลึกด้วยการสัมภาษณ์บทเรียนและแนวคิดการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบกับตัวแทนกลุ่มบุคคล ที่เกี่ยวข้องการพัฒนา ซึ่งครอบคลุมทั้งกลุ่มประชาชนแกนนำชุมชนและกลุ่มชาวบ้านที่รับผิดชอบดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มกรรมการพัฒนาหมู่บ้านและกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเครือข่าย ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเขตในปีงบประมาณ 2556 ของกองสุขศึกษา จำนวน 11 หมู่บ้าน จาก 11 เขตสุขภาพ

          ผลการศึกษา พบว่า ด้านลักษณะพื้นฐานของหมู่บ้านต้นแบบ เป็นหมู่บ้านที่มีทั้งหมู่บ้านขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยมีขนาดครอบครัวค่อนข้างเล็ก ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง มีผู้หญิงและผู้ชายในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ด้านภาวะสุขภาพยังป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง ซึ่งมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการกินอาหารที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพ ออกกำลังกายไม่เพียงพอ มีความเครียดจากการประกอบอาชีพและสภาพครอบครัว มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ในอัตราที่ค่อนข้างสูง พฤติกรรมการทิ้งขยะในหมู่บ้านและการใช้สารเคมีในเกษตรกรรม ส่วนศักยภาพการพัฒนาของหมู่บ้านมีการรวมกลุ่มมากมาย ซึ่งเป็นกลุ่มพลังหลักในการขับเคลื่อนและจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพ ส่วนด้านกระบวนการพัฒนาของหมู่บ้านต้นแบบ พบว่า ทุกหมู่บ้านมีการใช้แนวคิดและกระบวนการพัฒนาตามแนวทางของกองสุขศึกษา 7 ขั้นตอน คือ การจัดตั้งทีมดำเนินงาน การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน การจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของประชาชน การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีมดำเนินงาน และการประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้าน แต่ก็มีการผสมผสานกับแนวคิดและประสบการณ์ที่แต่ละหมู่บ้านมีอยู่ใช้เป็นหลักยึดการพัฒนาเพิ่มขึ้น ส่วนด้านผลลัพธ์และผลกระทบของหมู่บ้านต้นแบบ พบว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายของรอบเอวที่ลดลง และค่า BMI เป็นปกติมากขึ้นของกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้าน ซึ่งทุกหมู่บ้านสะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินผักและการออกกำลังกายตามเกณฑ์เพิ่มมากขึ้น และทุกหมู่บ้านมีการพัฒนา “นวัตกรรม” เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการกินผักและการออกกำลังกาย ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับหมู่บ้าน มีบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ มีการขยายผลโดยเป็นแหล่ง/สถานที่ศึกษาดูงานและเรียนรู้ของหมู่บ้านอื่น และมีการปรับใช้แนวคิดและกระบวนการพัฒนาหมู่บ้าน 7 ขั้นตอน ไปทำงานกับโครงการสุขภาพเรื่องอื่น สำหรับด้านบทเรียนและแนวคิดการพัฒนาของหมู่บ้านต้นแบบ พบว่า การขับเคลื่อนโครงการขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดเป็นสำคัญที่มีความตั้งใจและเชื่อมั่นในดำเนินงาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนและเสริมพลังจากผู้บริหารสสจ.โดยมี สสอ. และรพ.สต.และมีชุมชนร่วมในการพัฒนาโครงการ ส่วนภาคีเครือข่ายที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคือ อบต.และเทศบาลตำบล และปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาคือผู้นำชุมชนหรือแกนนำชาวบ้านและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รพ.สต.รองลงมาคือ อบต. ส่วนความคาดหวังในการพัฒนาหมู่บ้านของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดต้องการให้กำหนดเป็นตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขจะทำให้ทุกพื้นที่ต้องดำเนินการและทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนระดับอำเภอและตำบล ต้องการให้พัฒนาหมู่บ้านที่มีความพร้อมและสมัครใจและพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

          ข้อเสนอเชิงนโยบาย ในการจัดทำแผนระยะยาว “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” หรือ “การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน” ต้องมีความยืดหยุ่นของกลุ่มเป้าหมายและผลลัพธ์ ด้วยการให้แต่ละพื้นที่เป็นผู้กำหนดแผนของตนเองตามสภาพความพร้อมหรือเงื่อนไขของชุมชน โดยจังหวัด เขตสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ติดตาม ควบคุมกำกับ และสนับสนุนแผนดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีประสิทธิภาพ

          Effectiveness of the health behavior modification village model development. The mixed method of quantitative and qualitative approaches was used in this research, which aimed to study in basic characteristics of health behavior medication village model, study of development process for health behavior medication village model, and study of outcomes and impact for development, lesson learned and concept development based on experiment of leadership. The executive officers of the process of health behavior modification village were interviewed for this study including village committees, public health officials and networks as supporter the process of health behavior medication village where were got the best practice awards at district level in fiscal year 2014. The best practice awards were 11 villages from 11 regional health.

          The results revealed that : The basic characteristics of health behavior medication village model were as follows : They were small size villages. family size were quite small. Most of them were farmers and employees. The proportion of males relative to females in population. The priority of their health status was Hypertension, followed by Diabetes Mellitus, Cardiovascular and Cancer in health behavior medication village. The risk factor was eating unhealthy food, lack of exercise, cumulative stress, high smoking and drinking alcohol, dump waste and chemical use in health behavior medication village. Development potential of community was many community integration activities that was the main power to drive and manage health problem. The processing of development found that concept of development of all villages consist of 7 steps developed by Ministry of Public Health; Step 1 : Team Building. Step 2 :Studying Fundamental Data of Village. Step 3 : Village Development Plan. Step 4 :Learning Activity among People. Step 5 :Surveillance of Health Behavior. Step 6 : Knowledge Shari ng with Project Team. and Step 7 : Evaluate in Village Development. However, They integrated between 7 step and their experience to increase development effectiveness village.

          Outcomes and impact for development in health behavior medication village model were as follows: Outcome of changing body shape was smaller waist, normal BMI of people risk in health behavior medication village. All villages also had a better outcome. Consumption behavior on the fruits and vegetables and exercise increased according to indicator. All villages developed innovation to improve consumption behavior on the fruits and vegetables and exercise. Impact occurred to health behavior medication village was the health model, observational study and learning space in community. Moreover,7 steps concept was adapted to other health projects. and lesson learned and concept development based on experiment of leadership were as follows: The drive project depended on provincial public health officer who was the main person with intent and confident in procedure and got support and empowerment from chief provincial public health officer. District public health officer, sub-district health promoting officer and community participated to development project. The important network partners were sub-district health promoting officer, follow by sub-district administration organization officer. The expectation to develop project of sub-district health promoting officer was that health behavior medication village was determined as an indicator and all area had to develop more effective health behavior medication village. The expectation to develop project of district and sub-district officer was that health behavior medication village should be prepared and willing. Moreover, health behavior medication village had to develop process gradually for more effectiveness.

          The proposed policy in long range planning for behavior change or community health promotion was based on each area. The operate of development plan depended on community readiness and condition. Role of Provincial Public Health Office, District Public Health Office and Ministry of Public Health should only be monitor, control and support effective health behavior change plan.

 

References

 

Chuto, Nisa. (1995). Project Evaluation. Bangkok: P.N. Company Limited Press. (in Thai).

Intarasorn, Pantipa. (2011). Evaluation of health behavior modification village to reduce Cancer, Hypertension, Cardiovascular Disease Project in Chaiyaphum Province : A Case Study of Ban Lad Tai. (Master of Public Health, Public Health Administration, Khon Kaen University). (in Thai).

Kednark, Pensri. (2009). Path to health behavior modification village to reduce Cancer, Hypertension, Cardiovascular Disease. Bangkok : Sukhumvit Media Marketing Company press. (in Thai).

Kongsompee, Naraporn. (2005). Evaluation of Village and Urban Community fund project : A Case Study of railway track squatter community, village No 2, Bangnumjeud sub-district, Muang District, Samutsongkhram Province. (Master of Political Science, Genaral Adminitration, College of Government, Burapha University). (in Thai).

Paobua, Jitraporn. (2009). Performance of health behavior modification village project in prevention and control of Diabetes and Hypertension of population : A Case Study of Klongkoon sub-district, Taphanhin District, Phichit Province. (Master of Public Health, Public Health Program, Naresuan University). (in Thai).

Prasithrathsint, Suchart. (1998). Project Evaluation Research. 4th edition, Leung Cheng press. (in Thai).

Seujitawisuty, Chontira. (2009). Operaional Guidelines for development of health health behavior modification village to reduce Cancer, Hypertension, Cardiovascular Disease among public health officer and networks. Nonthaburi: 2nd edition, Health Education Division, Health Service Support Department, Ministry of Public Health. (in Thai).

วันที่โพส วันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 16.16 น. , อ่าน 272 , โพสโดย กลุ่มแผนงาน





Full Text | ดาวน์โหลด 151 ครั้ง