การศึกษาวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) A RESEARCH STUDY OF STRATEGY FOR THE 20-YEAR DEVELOPMENT OF HEALTH SERVICE SYSTEM IN THAILAND (YEAR 2018-2037)
Abstract
การศึกษาวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ออกแบบและวางยุทธศาสตร์ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย ที่สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และสนับสนุนต่อวิสัยทัศน์ประเทศไทยในการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามหลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงชาติพันธ์วรรณา เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เริ่มต้นเมื่อเดือน ธันวาคม 2559 ศึกษาข้อมูลประกอบด้วยแนวคิดเชิงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข สธ.4.0 กรอบยุทธศาสตร์ 10 ปี กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สบส.4.0 จากนั้น นำข้อมูลที่สกัดได้ไปถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมายในเดือนพฤษภาคม 2560 ในรูปแบบการประชุม เพื่อสอบทานความเข้าใจและการปฏิบัติของหน่วยงานต่างๆ ภายในกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ให้กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการเลือกแบบเจาะจง แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ นำมาพัฒนายุทธศาสตร์ด้านระบบบริการสุขภาพรวม 4 มิติ คือ มิติสถานบริการสุขภาพ มิติผู้ให้บริการ มิติผู้รับบริการ มิติประชาชน จากนั้นนำผลลัพธ์ยุทธศาสตร์ไประดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มองค์กร สถาบัน หน่วยงานด้านสุขศึกษาและด้านสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กลุ่มองค์กร สถาบัน หน่วยงานด้านสถานพยาบาลและการประกอบวิชาชีพศิลปะ กลุ่มองค์กร สถาบัน หน่วยงานด้านอาคาร สภาพแวดล้อม และ เครื่องมือทางการแพทย์ นำมาปรับปรุงแก้ไขยุทธศาสตร์ นำผลที่ได้ไปสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อสอบทานความคิดเห็นและนำเสนอผลที่ได้รับจากการวิเคราะห์พัฒนายุทธศาสตร์ สรุปผลเป็นร่างแผนยุทธศาสตร์ให้หน่วยงานต่างๆ ใช้อ้างอิงและปล่อยให้เป็นกลไกปกติของทางราชการ เว้นระยะเวลา 1 ปี จึงจัดการประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกรมสนับสนุนบริการสุขภาพอีก 2 ครั้ง ในเดือนสิงหาคม และ เดือนกันยายน 2561 นำข้อมูลมาวิเคราะห์พัฒนาเป็นยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพระยะ 20 ปี มีความเหมาะสมตามแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติ โดยแยกออกเป็น 4 ช่วงๆ ละ 5 ปี แต่เนื่องจากการเขียนแผนปฏิบัติราชการประจำปีมีส่วนสัมพันธ์กับการจัดสรรงบประมาณประจำปีของรัฐบาลในแต่ละสมัย จึงกำหนดเป็นแผนระยะเร่งด่วน 1 ปี แผนระยะสั้น 5 ปี และ แผนระยะยาว 20 ปี ด้วยวิธีกำหนดเป้าประสงค์หลักใหญ่กำกับไว้ในแต่ละระยะ โดยมีวิสัยทัศน์เป็นองค์กรหลักในการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพ และ พัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายภาคประชาชนสู่การจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน มีเป้าประสงค์หลักอยู่ 2 ประการคือ สถานพยาบาล และสถานประกอบการเพื่อสุขภาพมีคุณภาพไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด และ ประชาชนดูแลสุขภาพ และ ภาคีเครือข่ายภาคประชาชน มีการจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน มียุทธศาสตร์สำคัญ 3 ยุทธศาสตร์ คือ 1) การพัฒนากลไก กำกับ ติดตาม และ ตรวจสอบมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ 2) การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนและภาคีเครือข่ายภาคประชาชน 3) การพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรและเพิ่มศักยภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่ายุทธศาสตร์ระยะยาวและการรับรู้ของบุคลากรภายในองค์กร มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานระดับองค์กร การประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ เป็นกลไกสำคัญของความสำเร็จ รวมทั้งการควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินผล ต้องดำเนินการแบบเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกัน และ จะดียิ่งขึ้นหากพัฒนายุทธศาสตร์มีความสามารถปรับได้ตามสถานการณ์
This research was aimed at analyzing , designing , and formulating strategies for developing the health service and support system in Thailand. Two factors which influenced this system were the Thailand 4.0 Policy and the Thailand Vision. First of all the Thailand 4.0 Policy was designed to promote the use of digital technology in order to improve the efficiency , convenience , and accessibility of the Government Office System. Second, the Thailand Vision was created to improve Thai people life style as well as the Thailand economy. It was aimed at creating a new developed country which comprised of wealthy , healthy as well as improving the life span of the Thai people. The methodology was the Ethnography Research which was started to study in the early of December 2016. Researchers studied the 7 issues such as the Thailand 4.0 Policy, the 20-year Thailand Strategy (Year 2017-2036), the 12th National Social and Economy Development Plan, the 20-Year Thailand Strategy for Ministry of Public Health (MOPH), the MOPH.4.0, the 10-Year HSS Strategy Framework, and the HSS.4.0 for finding out the influential factors. Next , the Planning Division which was an organization in the Health Service and Support Department (HSS) set up a meeting with 7 organizations necessary to brainstorm and share their opinions in these matters. In order there were 2 meetings set up one with stakeholders and the other with the administrators of the highest level of the HSS department in May 2017. One year later there were 2 meetings set up again one with the Planning staffs of all organizations of the HSS department to follow up and share opinions in the draft strategies and the other with all staffs of the HSS department to acknowledge these strategies in August and September 2018.
The results were appropriated in the same way as of the National strategies i.e. separated into 4 phases each having 5 years per phase. Unfortunately the yearly budgeting of Thailand was set for one year only. This was the main reason why operating long term policies and strategies is a problem in Thailand. Therefore the strategies were set for the first one-year plan and implemented based on their Quick return. In addition there was a 5-year plan and a 20-year plan focusing on overall goals. The HSS Vision was to become the main organization in Thailand promoting and supporting quality services of the health service system. Additionally it was also designed at creating health awareness amongst people in the private sector as well as in the public sector. The 3 main strategies adapted were 1) Developing the appropriate action to supervise, control and monitor the implementation and operation of the health care service, 2) Developing and creating awareness in the private and public sectors, 3) Managing and budgeting resources so that they were implemented in an efficient earner.
The conclusion of this research was to suggest the better way to implement with the long term strategies which all staffs of their organization acknowledged these matters. It was also better to advocate in an important policy. In addition they were worth to supervise , control , monitor , and evaluate and to be good to adapt in Situation change.
References
Aonarin Khajornwongwattana. (2012). Qualitative Research. Retrieved January 10,2019, from https://www.gotoknow.org/posts/280137 (in Thai).
Borworn Thasarint. (n.d.). Thailand 4.0 The new economy. Retrieved January 20, 2019, from http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223 (in Thai).
National Economic and Social Development Committee, Prime Ministry office. (2016). The 12th National Economic and Social Development Plan (Year 2017-2021). Retrieved January 5,2019, from https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=
(in Thai).
Planning Division, Health Service and Support Department. (2016). The 10-Year Strategy of the Service and Support Department Framework. (Year 2017-2026). (Copyrighted). Nonthaburi : Health Service and Support Department (in Thai).
Strategy and Planning Division, Office of the Permanent Secretary of MOPH. (2018). The Strategic Planning for 20-Year Public Health, Year 2018 edition. Retrived October 10, 2018, from http://203.157.7.98/et/fileupload_doc/
-10-25-4-17-2531406.pdf (in Thai).
วันที่โพส วันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 16.13 น. , อ่าน 326 , โพสโดย กลุ่มแผนงาน