วารสารวิชาการ

Vol 14, No 2 (2018): พฤษภาคม-สิงหาคม 2561

วารสารวิชาการ ปี 2018, ปีที่ตีพิมพ์ 2018


ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัด ค่ายขวัญแผ่นดิน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ( THE EFFECTIVENESS OF MODIFIED MATRIX PROGRAM DRUG TREATMENT OF SOON KHWAN PAEN DIN TRAINING CAMP IN DISTRICT SAMPRAN, NAKHONPATHOM )

Abstract

          การวิจัยศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง (Analytic cross sectional study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัด (Matrix program) ค่ายขวัญแผ่นดิน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ปี 2559 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัด ค่ายขวัญแผ่นดิน เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวน 131 คน ในเดือน เมษายน-พฤษภาคม พ.ศ.2559 คิดเป็นร้อยละ 100 ของประชากรกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-Square

          ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดส่วนใหญ่ ร้อยละ 95.42 เป็นเพศชาย และร้อยละ 48.86 มีอายุ 41 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรสส่วนใหญ่สมรส มีความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือปวช. และประกอบอาชีพรับจ้างมากสุด ข้อมูลการใช้ยาเสพติดพบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดมีประสบการณ์ใช้ยาเสพติดมากกว่า 1 ชนิด ชนิดของยาเสพติดที่ใช้ครั้งแรก ส่วนใหญ่เป็นยาบ้า เริ่มใช้ยาเสพติดครั้งแรก อายุ 10 – 19 ปี และบุคคลในครอบครัวที่มีพฤติกรรมใช้ยาเสพติดมากที่สุด คือ บิดา ข้อมูลความรู้เรื่องโทษของยาเสพติดพบว่า ภาพรวมของความรู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของยาเสพติดโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี ข้อมูลทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติดพบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดมีทัศนคติที่ดีและถูกต้องว่าการที่บุคคลสามารถเลิกยาเสพติดได้สำเร็จควรได้รับความยกย่องชมเชย แต่ภาพรวมทัศนคติของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดต่อการใช้ยาเสพติดโดยเฉลี่ยยังไม่ถูกต้อง ข้อมูลประเมินการทำหน้าที่ในครอบครัว พบว่า ภาพรวมการทำหน้าที่ในครอบครัวโดยเฉลี่ยทำหน้าที่ได้ไม่ดี หรือไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง ข้อมูลความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน ครอบครัว และสภาพแวดล้อมในชุมชนพบว่า ภาพรวมของความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนและครอบครัว ผู้เข้ารับการบำบัดเลือกจะอยู่กับเพื่อน รวมทั้งเชื่อฟังเพื่อนมากกว่าบิดามารดาหรือผู้ปกครองเพราะกลัวเพื่อนจะเลิกคบ ส่วนสภาพแวดล้อมพบว่า ภายในชุมชนของผู้เข้ารับการบำบัดจะมีเพื่อนบ้านเป็นผู้ติดยาเสพติดอาศัยอยู่ด้วย ด้านประสิทธิผลของการบำบัดพบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด ร้อยละ 51.14 สามารถเลิกใช้สารเสพติดได้ เมื่อทดสอบปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัด (Matrix program) พบว่า สถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05)

          จากผลการวิจัยดังกล่าว ประสิทธิผลของการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัด (Matrix program) ยังไม่ดีพอและควรปรับปรุง โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกผู้ป่วยยาเสพติดที่เหมาะสม เพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอน และภายหลังจากการติดตามผลการบำบัดเสร็จสิ้นแล้ว ควรจะมีการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยยาเสพติดและชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

          Analytic research The analytic cross sectional study was designed to investigate the effectiveness and factors associated with the effectiveness of the Matrix program in the Kwan Samphan Camp, Sampran District, Nakhon Pathom province. Admitted to the treatment. Camp Data were collected from 131 interviewees from April to May 2016, representing 100% of the sample population. Data were analyzed using computer program. The statistics used were descriptive statistics (percentage, mean and standard deviation) and chi-square test.

          The study indicated that 95.42% of the respondents were male and 48.86% were 41 and over. Most of them were married. Have knowledge of junior high school or vocational. And most hired workers. Drug use information was found. Adults have experienced more than one type of drug use. Most are amphetamines. The first drug use was between the ages of 10 and 19 years, and the family with the highest drug use was the father. The overall knowledge of drug harm reduction was good. Data on attitudes toward drug use were found. The therapist has a good and accurate attitude that the successful completion of the drug should be commended. Overall, the attitudes of drug users to drug use, the average drug use was not accurate. Evidence of family functioning was found. Overall, average family functions do not perform well or do not understand their roles. The correlation between family, friends, and community environment. Overview of relationships among friends and family. Therapists choose to stay with friends as well as obey friends rather than parents or guardians. For fear of friends will stop dating. The environment was found. In the community of drug users, there are neighbors who are addicted to drugs. The effectiveness of the treatment. Patients undergoing drug treatment 51.14% had effective treatment. When testing factors related to the effectiveness of drug therapy, the Matrix program found that marital status was significantly correlated with the effectiveness of drug therapy (P- value <0.05).

          Based on the findings. Should start with the appropriate drug selection process. Increased community involvement in all processes. After completion of the follow-up, the satisfaction of drug and community patients should be evaluated in order to develop the model appropriately.

 

References

Chagphimai, C., Sritanasal, P. (2555). Self-Defense Behaviors from Drugs of Students at King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. (Research report). Bangkok: University of Technology North Bangkok.

Chaipichitpan, N. (1998). A study of factors affecting amphetamine relapsing behavior of secondary school students treated in Thanyarak Hospital (Master’s thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.

Department of Public Health Services Section. (2560). Matrix program. (2nd edition). Samut sakhon: Born To Be Print LTD.

Netnuengyai, R. (2014). Thai youth’s voluntary applications of drug treatment. (Doctoral dissertation). Phuket: Phuket Rajabhat University.

Pattanachinda, M. (1997). A study of media exposure in drug prevention campaign. People in KhonKaen: A Case Study of Higher Education Students Khon Kaen University. (Research report). KhonKaen: KhonKaen University.

Saraburi witthayakhom school. (2017). Strategies to prevent drug use and substance abuse. Retrieved June 5, 2017, from https://sites.google.com/site/.../naewthang-kar-pxngkan-sar-seph-tidni-chumchn

Supawong, A. (2005). Effectiveness of treatment for drug addicts following psychosocial therapy model. Thungsong Hospital. Nurse Prince of Songkla University, 36(extra), 160-169.

Thatsananchalee, T. (2009). The process of non-becoming amphetamine addict : a case study of rehabilitated person in process of correctional system. (Master’s thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University.

Yangyuen, S., Thitisutthi, S. (2015). The evaluation of behavior modification camp on drug users, Mahasarakham Province. Journal of Community Health Khonkaen University, 3(4), 605-622.

วันที่โพส วันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 15.23 น. , อ่าน 338 , โพสโดย กลุ่มแผนงาน





Full Text | ดาวน์โหลด 209 ครั้ง