การพัฒนารูปแบบอุทยานการเรียนรู้สุขภาพ ( THE DEVELOPMENT OF A HEALTH KNOWLEDGE PARK MODEL )
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบอุทยานการเรียนรู้สุขภาพ มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อรูปแบบอุทยานการเรียนรู้สุขภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์และสำรวจ 2) สร้างต้นแบบรูปแบบอุทยานการเรียนรู้สุขภาพ และตรวจสอบต้นแบบโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 3) ทดลองใช้ต้นแบบรูปแบบอุทยานการเรียนรู้สุขภาพ 1 แห่ง คือ บึงพลาญชัย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน 4) รับรองและนำเสนอรูปแบบอุทยานการเรียนรู้สุขภาพ โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ จำนวน 34 คน แล้วนำเสนอรูปแบบอุทยานการเรียนรู้สุขภาพ
ผลการศึกษาพบว่า วิสัยทัศน์ของอุทยานการเรียนรู้สุขภาพเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านสุขภาพที่ทันสมัยเอื้อให้เกิดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยมีพันธกิจ 5 ประการ คือ 1) ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการดำเนินงานอุทยานการเรียนรู้สุขภาพ 2) พัฒนาคลังความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านสุขภาพ 3) พัฒนาและจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของประชาชนทุกวัย 4) บริการการเรียนรู้ด้านสุขภาพด้วยสื่อ กิจกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย 5) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดโอกาสการเรียนรู้ด้านสุขภาพที่หลากหลายเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี โดยรูปแบบการบริหารจัดการอุทยานการเรียนรู้สุขภาพประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพหลัก และกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพรอง โดยมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือภาคประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละภาระงานหรือมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในรูปแบบคณะกรรมการ/คณะทำงาน ซึ่งรูปแบบอุทยานการเรียนรู้สุขภาพ ประกอบด้วย 1) การจัดพื้นที่ภายในอาคารและภายนอกอาคาร มีการจัดแบ่งเป็นโซน คือ พื้นที่ภายในอาคาร 9 โซน และพื้นที่ภายนอกอาคาร 5 โซน 2) รูปแบบการให้บริการ 9 รูปแบบ 3) ระบบงานอุทยานการเรียนรู้สุขภาพ ประกอบด้วย 4 ระบบหลัก และ 6 ระบบย่อย ข้อเสนอแนะ 1) การพัฒนาอุทยานการเรียนรู้สุขภาพให้มีความยั่งยืนจะต้องมีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม 2) การดำเนินงานอุทยานการเรียนรู้สุขภาพในแต่ละระบบงาน ควรมีการดำเนินงานตามขั้นตอนของแต่ละระบบงานเพื่อจะได้ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ
The purposes of this study is to develop the model of a health knowledge park. There are 4 procedures of this study. They are 1) It is to study the opinion of health knowledge park model by using questionnaire and in depth interview. 2) Create a prototype of health knowledge park and double check by focus group technic in expert. 3) The prototype of health knowledge park is tested in 1 area; it is “Bueng Phlan Chai”, Roied province by participant observation and in depth interview in 10 people. 4) The model of health knowledge park is confirmed and presented by focus group from 34 technicians after that to present the pattern of health knowledge park.
The result show that the vision of health knowledge park is a modern health learning center. It motivates the contribution of participation network. There are 5 missions; 1) It is to support and develop the participation of all network in health knowledge park operation. 2) It is to develop knowledge, local wisdom and health innovation. 3) It is to develop and manage environment that is good for all people to learn. 4) It is to serve health learning by using media activity and modern technology. 5) It is to promote the variety of health learning opportunity to have good health by using the pattern of health knowledge park local administration and The ministry of public health will be in charge with support of government private sector and people who take responsible for each task. Also there is appointment of working group. The model of health knowledge park is include 1) Indoor and outdoor space management. Which is divided into 9 zones of indoor and outdoor 5 zone. 2) There are 9 patterns of services 3) Work system of health knowledge park include 4 primary system and 6 secondary system. Suggestion 1. The mechanism of health knowledge park sustainable development should be joint implementation in all unit to continuous and concrete. 2. Health knowledge park process should be follow the steps of work system for response to customer needs and accomplishment.
References
Bureau of Policy and Strategy. (2011). Thailand Healthy Lifestyle Strategy 2011 – 2010. Bangkok: Printing House National Office of Buddhism.
Health education division. (2015). Health literacy and Health Behavior Assessment financial year 2015. n.p. (Mimeographed).
Pholsanhong, J. (2540). A development of physical environment model for the community learning center under the Jurisdiction of the Department of Non-Formal Education. (Master of Education Thesis, Chulalongkorn University).
Sirisophaphong, S. (2004). A Proposed Health Promotion Learning Center Model for Clients in Health Promoting Hospital, Northeastern Region. (Master of Education Thesis, Sukhothai Thammathirat Open University).
Srisarn, V. and Sukpreeda, N. (1987) Knowledge Park for the Development and Use of Community Resources. Bangkok: Chulalongkorn University.
Tangpakdee, R. (2009). Development of a Health Learning Center System for Provincial Hospitals. (Doctor of Philosophy Thesis, Chulalongkorn University).
Vorapipat, K. (1994). Knowledge Park. Bangkok: Teachers Council Ladprao.
Wongautararoj, P. (2001). Academic Administration. Bangkok : Pimdeed.,Co.Ltd.
Don A, Welty & Dorothy R, Welty. (1976). The Teacher Aide in the Instructional Team. Glenco: Mcgraw-hill Book Co, Inc.
Finkel, Lawrences. (1974). The Educational Park and Its Community. New York : U.S.A.
วันที่โพส วันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 15.55 น. , อ่าน 122 , โพสโดย กลุ่มแผนงาน