การพัฒนารูปแบบการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดลพบุรี ( DEVELOPMENT OF HEALTH STRATEGIC IN LOPBURI )
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดลพบุรี กระบวนการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพปัญหาการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดลพบุรีปี 2559 ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ การนำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพสู่การปฏิบัติและประเมินผลยุทธศาสตร์สุขภาพ นำสู่การพัฒนาเพื่อบริหารจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพในปี 2560 รวมทั้งประเมินผลการบริหารยุทธศาสตร์ในปี 2560 เพื่อนำสู่การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ปีต่อไปให้มีประสิทธิภาพ เก็บข้อมูลโดยศึกษาจากเอกสาร แบบสอบถาม สัมภาษณ์ และสังเกตแบบมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องกับการทำแผนในทุกระดับ ผลการวิจัยพบว่า
(1) ยุทธศาสตร์สุขภาพปี 2559 มีความสอดคล้องและตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุขแต่ไม่สอดคล้องกับปัญหาของพื้นที่ แผนยุทธศาสตร์ไม่เห็นทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ขาดการกำกับ ติดตาม และประเมินผลที่เป็นระบบ (2) ยุทธศาสตร์สุขภาพ ปี 2560 มีการวิเคราะห์ข้อมูลจากทุกระดับ ทุกมิติ และเลือกนำปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมาจัดทำยุทธศาสตร์ มีการบูรณาการแผนปฏิบัติการรายยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของกลุ่มงานเพื่อลดความซ้ำซ้อนของการดำเนินงาน มีการนิเทศติดตามงานที่หลากหลายรูปแบบและครบทุกพื้นที่ (3) ยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดตอบสนองต่อปัญหาและบริบทของพื้นที่ มีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุขรวมทั้งแผนพัฒนาจังหวัด มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันตั้งแต่วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ กิจกรรมหลักจนถึงกิจกรรมในแผนปฏิบัติการ แต่ด้านการกำกับและประเมินผล กลับให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดมากกว่าการประเมินผลงานตามยุทธศาสตร์และสภาพปัญหาจริงของพื้นที่
การบริหารยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ควรมุ่งเน้นเฉพาะกระบวนการจัดทำแผนฯ เท่านั้น ควรให้ความสำคัญในทุกขั้นตอนตั้งแต่การจัดทำแผนฯ การถ่ายทอดแผนฯ การแปลงแผนสู่การปฏิบัติ การกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการนิเทศติดตามการดำเนินงานตามแผน จึงจะทำให้การบริหารยุทธศาสตร์มีความสมบูรณ์เกิดประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์
The purpose of this study was to development of health strategic in Lopburi. The three stages used in this research were investigate the problem of health strategy management in Lopburi province in 2016 development and to evaluate the strategic management in 2017 for three aspects : health strategic planning, Implementation and evaluation of Health for the development of processing effectively for the next year. The set of questionnaires , interview and participatory observation were using to collect information. The research indicated that
(1.) Health Strategy 2016 is consistent and responsive to the Ministry of Public Health policy, but not in line with the problem of the area. Strategic plans do not clear direction and lack of continuous M&E. (2.) Health strategy plan of 2017 was analyzed from data of all dimensions and levels to prioritize the health problems for development and to integrated for reducing duplication of work ,moreover having M&E that variety formats and all of areas. (3.) The provincial strategy responds to the problems and context of the area, and consistent with the national plan for public health, provincial plan from vision, strategy, tactic, core activities to action plan but focusing on the indicators rather than the performance evaluation of the strategic and problems of the area.
The effective strategic management should not to focus only the planning process, it should be considered as an important at all stages of planning, cascading, implementation and persistant M&E. These crucial processes together with suitable budgets will make the strategic management to be completed effectiveness according to the goal.
References
Boromtanarat, (2010). Health Strategic Planning, Bangkok: Sukhothai Thammathirat University.
Chaingchaiskulthaipol, K.et al. (2015) The Study of Processing and Administration of Public Health Plans Designated Area. Bangkok: Boonsirikarnpim Co.,Ltd.
Ministry of Public Health. Royal Gazette. 2017,Vol.134 Part 64a, 12.
Opitakchiwin, S. (2007) Strategic Management. Bangkok: Pearson Education.
Pruetijirawong, U. et al. (2012) Strategic Planning Process Health Achievement: Case Study of Buriram Provincial Public Health Office. Journal of Health Systems Research, 6(4), 486-500.
Tiyao, S. (2003) Strategic Management. Bangkok: Tammasat University Press.
Wirachnipawan, W. (2011). Management Administration and Strategic Administration of the State Agencies. Bangkok.
วันที่โพส วันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 01.54 น. , อ่าน 237 , โพสโดย กลุ่มแผนงาน