การจัดการการเงินเพื่อการบริหารที่มีประสิทธิภาพของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ( Effective financial management for management Of Chaoprayayomarat Hospital Suphanburi Province Health Office )
Abstract
การศึกษานี้เนื่องจากในไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2559 โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่าเริ่มขาดสภาพคล่องทางการเงิน เกิดภาวะวิกฤตระดับ 6 คือ การเกิดภาวะวิกฤตทางการเงินของโรงพยาบาลระดับมาก จากเกณฑ์การคิดวิเคราะห์ข้อมูลวิกฤตทางการเงิน 7 ระดับ เกณฑ์ประเมินการบริหารการเงินการคลังสุขภาพ (Financial Administration Index : FAI) หมายถึง เกณฑ์ที่สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขใช้เป็นเครื่องมือประเมินคุณภาพการบริหารจัดการการเงินการคลังโรงพยาบาลในสังกัด จึงดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินในเชิงลึกที่มีรายละเอียดหลายๆ ด้าน ทั้งสิทธิการรักษาพยาบาลและหมวดรายจ่ายต่างๆ จะช่วยให้การจัดการทางการเงินเพื่อการบริหารการเงินสำหรับโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพสามารถควบคุมปัญหาการเงินระดับ 6 ได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถคาดการณ์รายได้ที่พึงได้รับและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินงาน การรับรู้ภาระหนี้สินที่มีอยู่ สำหรับการวางแผนเพื่อชำระหนี้ในอนาคต รวมถึงแผนการเรียกเก็บเพื่อให้หน่วยงานมีสภาพคล่อง โดยอาศัยเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินเป็นเครื่องมือในการศึกษา วิธีการศึกษา และเครื่องมือ : ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิของงบการเงินโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2559
ผลการศึกษา พบว่า (1) วิเคราะห์อัตราส่วนด้านสภาพคล่องทางการเงิน ในปี 2557 ถึง 2559 เท่ากับ 1.59, 1.48 และ 1.07 สะท้อนให้เห็นว่าว่าสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนและมีความคล่องตัวในการชำระหนี้สินหมุนเวียนค่อนข้างน้อย (2) วิเคราะห์อัตราส่วนความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ ของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวรรวม มีอัตราส่วนเท่ากับ 1.12, 0.99 และ 1.01 แสดงให้เห็นในภาพรวมว่ารายรับลดลงเมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวม มีการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์มากกว่าการเพิ่มขึ้นของรายรับความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ของโรงพยาบาลที่ทำให้ก่อเกิดรายได้ค่อนข้างน้อย (3) วิเคราะห์อัตราส่วนความสามารถในการก่อหนี้ โรงพยาบาลมีหนี้สินต่อสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นทุกปี เท่ากับโรงพยาบาลมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าโรงพยาบาลมีหนี้สินเพิ่มขึ้นและต้นทุนลดลงทุกปี ซึ่งเกิดจากรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่าย (4) วิเคราะห์อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช มีรายรับต่ำกว่าค่าใช้จ่ายแสดงให้เห็นว่าโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราชใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพโดยเห็นได้จากอัตราส่วน 0.12, 0.50 และ -.0.07 มีกำไรลดลง ข้อเสนอแนะ : ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางงบการเงินในแต่ละด้านผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวนำไปวางแผนการปฏิบัติงาน และวางแผนเกี่ยวกับการจัดการงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อๆ ไป และการวิเคราะห์สภาพคล่องของโรงพยาบาลควรจะต้องมีการวัดผลระหว่างปีงบประมาณเพิ่มด้วย จะทำให้หน่วยงานมีการวางแผนเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินให้มีความทันเวลา ครบถ้วนถูกต้องได้ดียิ่งขึ้น
In the fourth quarter of fiscal year 2016 Chaoprayayomarat hospital. Suphanburi Province Began to lack financial liquidity The crisis level 6 was found. The financial crisis of high level hospitals. Based on 7 Critical Thinking Criteria. The Financial Administration Index (FAI) refers to the criteria used by the Office of the Permanent Secretary for Health to measure the quality of the financial management of the hospital. In-depth financial analysis. There are many details. Both the right to treatment. And various expenditure categories It allows financial management for financial management for hospitals. Can effectively control financial problems level 6. Objective : The hospital aims to provide a predictable income they receive and costs arising form operations, Recognition of existing debt. Planning for future Obligations. The plan includes collection agencies, So that liquid. Using tools to analyze financial statements. As an educational tool. Study designs Material and Methods : In the study mapped. Studies form secondary accounts of Chaoprayayomarat hospital provincial health office. Fiscal year 2014-2016
Result : It was found that (1) The ratio of financial liquidity ratio in year 2557 to 2019 was 1.59, 1.48 and 1.07, reflecting that the current assets rather than current liabilities and liquidity were relatively low. In Asset Management Of Chaoprayayomarat Hospital Total Fixed Asset Turnover The ratios of 1.12, 0.99, and 1.01 show that overall revenue decreases when compared to total assets. Chaoprayayomarat Hospital has an increase in assets rather than an increase in receipts. The asset management of the hospitals that generate income is relatively low. (3) Analysis of debt service coverage ratio. The hospital has a debt to total assets increase every year. Equivalent to Chaoprayayomarat Hospital, the debt burden increased. It shows that hospitals have increased liabilities and reduced costs every year. This is caused by lower-cost revenues. (4) Profitability Ratio Analysis Chaoprayayomarat Hospital Income is lower than cost. It shows that the Chaoprayayomarat Hospital utilizes the assets that are rarely available. As seen from the ratio of 0.12,0.50 and -.07.07, the profit fell. Conclusion : In the analysis of financial information in each aspect, management can use such information to plan the operation. And planning on budgeting for next fiscal year and hospital liquidity analysis should also be measured during the fiscal year, This will allow the agency to plan for billing to be more timely, accurate, and better.
References
Ariya, L. (2009). Evaluation of Financial Status and Performance of Subdistrict Administration Organization.Muang District, Phayao Province. Studying Self
masters, Chiang Rai Rajabhat University.
Arunsri, V. (2016). Lecture on national strategy for 20 years (2017-2037). Retrieved on. October 30, 2016, From http://122.154.22.188/newqsds/file_upload/yutthasart20ys.pdf
Financial Group. (2015). Report of the Fiscal Year 2014. Suphan Buri: Center Hospital ChaoPhraya Yommarat Suphan Buri.
Financial Group. (2016). Report of the Fiscal Year 2015. Suphan Buri: Center Hospital ChaoPhraya Yommarat Suphan Buri.
Financial Group. (2017). Report of the Fiscal Year 2016. Suphan Buri: Center Hospital ChaoPhraya Yommarat Suphan Buri.
Health Insurance Group. RiskScoring Analysis for Quarter 1, 2017. (2017). Retrieved on October 30, 2017. From https://hfo60.cfo.in.th/default.asp
Phechsanghar, C. (2006). Financial Analysis of the Mahasarakham University Book Center. Education Self-study, Mahasarakham University.
Policy and Strategy Bureau. (2017). National Strategy for 20 Years of Public Health Operation Year. Retrieved on October 30, 2016, From http://bps.moph.go.th/new_bps/85
Research and Quality Assurance Division. (2016). Thailand 4.0 Models to Drive Thailand Retention stability and sustainability. Retrieved on December 12,
From www.libarts.up.ac.th/v2/img/Thailand-4.0.pdf.
Saypeang, C . (2010). Performance Evaluation and Financial Analysis by Horizontal Analysis. Financial Analysis: Case Study of Nong Lom Subdistrict Administrative Organization Payao Province. Self-study master, Chiang Rai Rajabhat University.
วันที่โพส วันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 15.45 น. , อ่าน 211 , โพสโดย กลุ่มแผนงาน