วารสารวิชาการ

Vol 13, No 2 (2017): กรกฏาคม - ธันวาคม 2560

วารสารวิชาการ ปี 2017, ปีที่ตีพิมพ์ 2017


การมีส่วนร่วมของแกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพในการขับเคลื่อนงานพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ ( Participation of Partnership Health Network in Propulsion for Development Sub-District Health Management )

Abstract

 

          การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของแกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพในการขับเคลื่อนงานพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่ พื้นที่ตำบลจัดการสุขภาพทั่วประเทศ 1,003 ตำบล ประชากรเป้าหมาย 67,800 คน คำนวณตัวอย่าง โดยประมาณค่าสัดส่วนประชากร กำหนดสัดส่วนประชากรเท่ากับ 0.10 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ยอมให้มีการคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 คำนวณกลุ่มเป้าหมาย 138 คน แต่การศึกษาครั้งนี้ ทำการศึกษาในเขตตรวจราชการทั้ง 12 เขต จึงปรับเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่าง เขตละ 30 คน รวมทั้งหมด 360 คน การสุ่มเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) โดยขั้นตอนที่ 1 สุ่มหยิบสลากจังหวัดเป้าหมาย เขตละ 1 จังหวัด ขั้นตอนที่ 2 สุ่มหยิบสลากอำเภอ เขตละ 1 อำเภอ ขั้นตอนที่ 3 สุ่มหยิบฉลากตำบล เขตละ 1 อำเภอ ขั้นตอนที่ 4 สุ่มเลือกเฉพาะเจาะจงตำบลละ 30 คน ที่เป็นภาคีเครือข่ายสุขภาพและขับเคลื่อนงานตำบลจัดการสุขภาพ ดำเนินการช่วงเดือนเมษายน – กันยายน 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาค โดยค่าความเชื่อมั่นด้านการรับรู้ ด้านแรงจูงใจ และด้านการมีส่วนร่วม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.76, 0.78,และ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ใช้สถิติการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Perason Product Moment Correration)

          ผลการวิจัยพบว่า 1) แกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพขับเคลื่อนงานตำบลจัดการสุขภาพ ดังนี้ 1.1) ด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.20 1.2) ด้านความรู้ ระดับปานกลางร้อยละ 76.90 1.3) ด้านการรับรู้ ระดับปานกลาง ร้อยละ 78.10 1.4) ด้านแรงจูงใจ ระดับปานกลางร้อยละ 60.30 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนพัฒนางานตำบลจัดการสุขภาพ ประกอบด้วย บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในชุมชน การรับรู้ต่อการพัฒนา และระดับแรงจูงใจในการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ 3) เมื่อทดสอบระดับความสัมพันธ์พบว่า 3.1) ลักษณะส่วนบุคคล ระดับความรู้ ไม่มีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ แต่การมีบทบาทหน้าที่ในชุมชน มีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนพัฒนางานตำบลจัดการสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.2) ระดับการรับรู้และระดับแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          ดังนั้น การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ ต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจ มีการรับรู้ที่ถูกต้อง มีเป้าหมายในการพัฒนาชัด ทำให้เกิดแรงจูงใจและส่งผลต่อการพัฒนา ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพในระดับที่สูงขึ้นและประสบความสำเร็จ

          This study was a survey research. This research aimed to study the participation of partnership health network in propulsion for development Sub-District health management. The samples were affiliated area health network in Sub-District health management nationwide area 1,003 Sub-District. The target populations were 67,800 samples. The researcher calculated sample size by estimated population proportion, population projection was 0.10, confidence level 95%, error 5%, and calculation the sample size was 138 samples. However, this study was studied in 12 inspection areas so the researcher increased the number of samples by 30 samples per inspection area. Hence, total of the sample size was 360 samples. The sample sampling used multi-stage sampling by step 1, random target province 1 province per area, step 2, random district 1 district per area, step 3, random sub-district 1 sub-district per area, and step 4, purposive sampling 30 samples per sub-district who was the partnership health network and propulsion sub-district health management. This study was conducted from April to September 2016. The data collection instruments passed inspection of content validity from 3 professionals and tested reliability by using Cronbach’s Alpha Coefficient, through the reliability of recognition, motivation, and participation followed values 0.76, 0.78, and 0.97. Data analysis used percent, mean, standard deviation, and analyzed relation by Perason Product Moment Correlation.

          This study found that, 1) the leaders of partnership health networks propelled Sub-District health management as followed 1.1) participation was medium level, 64.20% 1.2) knowledge was medium level, 76.90% 1.3) recognition was medium level, 78.10% 1.4) motivation was medium level, 60.30%. 2) Factors affected the propulsion for development Sub-District health management consisted of role and responsibility in community, perceive of development, and motivation of development Sub-District health management. 3) The testing of relation as followed 3.1) personal characteristic, knowledge had no relation with development Sub-District health management however, role and responsibility in community had significantly relation with development Sub-District health management at 0.05. 3.2) Recognition and motivation had significantly relation with development Sub-District health management at 0.05.

          As a result, the propulsion for development Sub-District health management should get the target to understand, right recognition, get clearly the goal, motivate and influence the development, and affect participation process in propulsion for development Sub-District health management at the high level and successful.

 

References

 

สำนักพัฒนาวิชาการและการจัดการความรู้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2558). สรุปสถานการณ์สุขภาพคนไทยในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2559. จาก https://phpp.nationalhealth.or.th.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2555). แนวทางการนิเทศงานตำบลจัดการสุขภาพดี วิถีชีวิตไทย ปี 2555. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2559). รายงานผลการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ ปี 2558. กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี. เอกสารอัดสำเนา.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2555). แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. นนทบุรี กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

Cohen , J.M. and Uphoff , N.T. Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies , Cornell University , 1981.

ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม. 2539. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS/PC. กรุงเทพฯ : ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 126.

วนิดา วิระกุล และคณะ. (2547). การประเมินผลศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชนในการบริหารจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สมเกียรติ ออกแดง. (2554). การประยุกต์ใช้กระบวนการแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของแกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพในการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนูญ พลายชุม. (2553). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครเยาวชนตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ยงยุทธ์ สุขพิทักษ์. (2553). การเสริมพลังอำนาจเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 40 ปีขึ้นไปพื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

เบญจวรรณ สุภาพ. (2552). การดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพของแกนนำชุมชนในเขตนครลำปาง อำเภอเมืองลำปาง. วิทยานิพนธพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พงษ์เทพ ดีเสมอ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการสุขภาพภาคประชาชน ในจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วันที่โพส วันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 15.45 น. , อ่าน 144 , โพสโดย กลุ่มแผนงาน





Full Text | ดาวน์โหลด 90 ครั้ง