วารสารวิชาการ

Vol 13, No 2 (2017): กรกฏาคม - ธันวาคม 2560

วารสารวิชาการ ปี 2017, ปีที่ตีพิมพ์ 2017


การขับเคลื่อนหมู่บ้านสุขภาวะตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง บ้านอู่แก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ( Health Village Development under the Concept of Sufficiency Economy with the Participation of the Community: a Case Study of Ban

Abstract

 

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อขับเคลื่อนหมู่บ้านสุขภาวะตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาในพื้นที่บ้านอู่แก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำของสมาชิกกลุ่มต่างๆ จำนวน 10 กลุ่ม สุ่มเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 60 คน ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 ถึงเดือนมีนาคม 2560 มี 3 ระยะ ดังนี้ 1) ศึกษาสถานการณ์ 2) ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้าน 3) ประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสำรวจ สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของชุมชน ความคิดเห็นเกี่ยวกับสุขภาวะ และการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.76, 0.78 และ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ dependent paired t – test

          ผลการศึกษา พบว่า 1) จากการศึกษสถานการณ์ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคือ ความพร้อมของบุคคลที่ทำงานร่วมกัน การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความสามารถของผู้นำกลุ่ม ปัจจัยเสริมที่ทำให้กลุ่มมีการขับเคลื่อนคือการได้รับโอกาสในการพัฒนาความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ การเจรจาต่อรองภายในกลุ่มและ ความสัมพันธ์เครือญาติ โอกาสที่ทำให้พัฒนาร่วมกันคือความศรัทธาต่อคำสอนของพ่อหลวง ความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนและอยากเห็นชุมชนเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น 2) ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้าน โดยการนำแนวคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียง เปรียบเทียบก่อนและหลังการวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เปรียบเทียบผลการพัฒนาสุขภาวะพอเพียงทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ก่อนและหลังการวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) 3) ประเมินผล การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน สุขภาวะ คนในชุมชนมีความพึงพอใจในระดับ “มากที่สุด” มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนระดับ “มาก” ประชาชนเกิดความภาคภูมิใจต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาหมู่บ้านสุขภาวะ

          การพัฒนาทำให้เกิดรูปแบบ “วิถีพอเพียงบ้านอู่แก้ว” มีกระบวนการพัฒนา 11 ขั้นตอนคือ 1) การมีส่วนร่วมแบบสมัครใจ 2) ตั้งเป้าหมายต้องมาจากแรงศรัทธา 3) รับรู้ร่วมกันและคืนข้อมูลชุมชน 4) เสริมพลังให้คิดอย่างต่อเนื่อง 5) ทำตามความสามารถและใช้ทุนทางสังคม 6) ติดตามแบบเพื่อน 7) แลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอ 8) ทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง 9) สร้างพลัง เติมกำลังใจดุจญาติมิตร 10) จิตอาสา 11) สร้างทางเลือกการพัฒนา สรุปได้ว่าการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการขับเคลื่อนหมู่บ้านสุขภาวะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมแบบสมัครใจ เพราะเกิดความศรัทธาต่อแนวคิด มีเป้าหมายร่วมกัน เปลี่ยนทัศนคติเป็นบวก เสริมพลังและใช้ทุนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลให้กลุ่มแกนนำเปลี่ยนแปลงทั้งความรู้ วิธีการปฏิบัตินำไปสู่ทิศทางที่เป็นบวกในระดับสูง

          The present research was aimed to develop a health village operating model under the concept of sufficiency economy using the participation of people in Ban OO-keaw, Moo 9, Tambon Khao Phra Bat, Chian Yai district, Nakhon Si Thammarat province, and to study of factors affected to the participation of the community and strategy of health village for development under the concept of sufficiency economy. This participatory action research was conducted from October 2015 to March 2017. It was divided into 3 steps: 1) the preparation, to defined the area, accessed to the study area and to built relationships, 2) the operation, to studied and analyzed the factors that affect the participation of the community of the 35 main contributors by conducting depth interviews, group discussions and observation, and to studied the developmental strategy of health village following the concept of sufficiency economy of 50 research participants, and 3) the research evaluation.

          The results showed that both factors that promote and hinder the participation of the community consisted of the individual, management and the structure of the community. The individual factors included the availability of people to work with community in physical, mental, social, and spiritual dimensions; respect for human dignity; ability of leaders and the opportunity to develop. The management consists of flexibility of the management practices or rules used in the community and negotiations within. The factors for the structure of the community included kinship relationship, belief, community life to contribute of the development, sense of belonging, community expectations, value and cultural community conducive to participation and to see the importance of participation.

          The development strategies of health community included:1) used the participation of the community in the disposed development, 2)set the goal from inspiration or belief, 3) communicated based on the mutual recognition and returned the data to the community, 4) empowered to think and build community plan with continuously operating, 5) supported act according to self and social capital, 6) encouraged and tracked a partner, 7) provided for the regular discussion, 8) made exemplary, 9) empowered same as family, 10) instituted volunteers and vocal developments and 11 ) proved opportunities and development options in the two parts such as 1) the tools used for development as the curriculum content composing of 3 topics including healthy, sufficiency economy and community participation, and 2) development mechanism that is community leaders with three characteristics including volunteer, belief in community life and self- confidence and team.

          The results after used the sufficiency economy concept in developing of the health village revealed that people in the community were satisfied with the level of “most”. The fit and accordance with the community life was the level of “much”. People were taken pride and developed by voluntary. It got the apparent phenomenon of “Ban OO-Keaw sufficient Way of life”. The comparison of the adequately developmental health in four aspects: physique, mentality, society and spirit between before and after the study were different with statistical significance at p < 0.05. And the concept of sufficiency economy that was developed based on six fields included reducing expenses, additional revenue, savings, livelihood, natural resource conservation and care between before and after the study were different with statistical significance at p < 0.05.

 

References

 

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). รายงานสุขภาพคนไทย. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2558 จาก http://www.thaihealthreport.com/index2558-3

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554-2563. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2558 จากhttp://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries11.html

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2555). แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. นนทบุรี กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เพื่อยกระดับรายได้ครัวเรือน. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน : กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

โรงพยาบาลเชียรใหญ่. (2558). สรุปผลการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขประจำปี 2557 อำเภอเชียรใหญ่. นครศรีธรรมราช : ม.ป.พ.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาท. (2558) สรุปผลการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ประจำปี 2557. ตำบลเขาพระบาทอำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช : ม.ป.พ.

ขวัญกมล ดอนขวา. (2557). แบบจำลองของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย. สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2551). หลักการและการใช้วิจัยเชิงคุณภาพสำหรับทางการพยาบาลและทางสุขภาพ. สงขลา : ชาญเมืองการพิมพ์.

Stephens, C. (2007). Participation in different fields of practice: Using social theory to understand participation in community health promotion. J Health Psychol. 12:949.

ประเวศ วะสี. (2552). สร้างคุณค่าความเป็นคน สร้างสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็ง ในตัวตั้งเพื่อการตั้งตัว. เอกสารการประชุมวิชาการ ทางออกวิกฤตสยามด้วยยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง. (เอกสารอัดสำเนา,24 -25 มีนาคม 2552).

ยงยุทธ์ สุขพิทักษ์. (2553). การเสริมพลังอำนาจเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 40 ปีขึ้นไปพื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

มนูญ พลายชุม. (2553). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครเยาวชนตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

Thomas, S., Mooney, G., Mbatsha, S. (2007). The MESH approach: Strengthening public health systems for the MDGs. Health Policy. 83: 180-185.

ยิ่งยง เทาประเสริฐ. (2546). ตำราการแพทย์พื้นบ้านล้านนา เล่ม 1แนวคิด ทฤษฎี. สมุฏฐานโรค การตรวจวินิจฉัยระบบโรคและกระบวนการดูแลรักษาสุขภาพของระบบการแพทย์พื้นบ้านล้านนา (หมอเมือง). ชุดโครงการวิจัยองค์ความรู้หมอเมือง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.ภาค). (อัดสำเนา)

วันที่โพส วันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 15.44 น. , อ่าน 169 , โพสโดย กลุ่มแผนงาน





Full Text | ดาวน์โหลด 239 ครั้ง