วารสารวิชาการ

Vol 13, No 2 (2017): กรกฏาคม - ธันวาคม 2560

วารสารวิชาการ ปี 2017, ปีที่ตีพิมพ์ 2017


การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิต กรณีศึกษา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ( The Development of Nursing Services System of Traffic accident patients care in life-threatening condition. Case study of Chiangra

Abstract

 

          งานวิจัยเชิงประยุกต์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจำแนกประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิต 2) ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิต โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยการสังเคราะห์ข้อมูลประชากรจากเวชระเบียนข้อมูลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ศึกษาเฉพาะข้อมูลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิตจำนวน 123 ฉบับ ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีระบบ และใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการพัฒนาระบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบันทึกข้อมูลตามแนวการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนภาวะคุกคามชีวิตและแบบบันทึกการติดตามประเมินผลที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนและการติดตามประเมินผลการดูแลผู้ป่วย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ จากนั้นทำการศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพยาบาลเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้น ในการพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิต โดยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มจากผู้แสดงทางสังคมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการสังเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่าในเวชระเบียน 123 ฉบับ เป็นข้อมูลเพศชาย ร้อยละ 69.92 เพศหญิง ร้อยละ 30.08 เป็นผู้ป่วยประเภท Resuscitate ร้อยละ 8.94, Emergency ร้อยละ 43.09, Urgent ร้อยละ 47.97 โดยร้อยละ 81.30 มีระยะเวลาในการนอนรักษาตัว 1-7 วัน หลังรับไว้นอนมีสถานะภาพจำหน่าย ร้อยละ 82.10%, เสียชีวิตร้อยละ 9.76 พยาบาลร้อยละ 94.31 ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิต ครบถ้วนและ ดำเนินการสนทนากลุ่มตลอดจนสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้ได้รูปแบบ/แนวทาง การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิต จากผลการประเมินรูปแบบพบว่าร้อยละ 100 เห็นด้วยกับการพัฒนาระบบบริการพยาบาล ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบบริการพยาบาลในภาวะคุกคามชีวิตโดยเฉพาะผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในจังหวัดเชียงรายต่อไป

          ข้อเสนอแนะระบบบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิตควรมีการปรับระบบบริการพยาบาลตั้งแต่การดูแลก่อนถึงโรงพยาบาล การดูแลในโรงพยาบาล และการดูแลต่อเนื่องหลังการจำหน่าย ในประเด็นการบริหาร การบริการ และระบบการพยาบาล

          This applied research is retrospective collection Data. Objectives of this research were to : 1) to study on traffic accident patients care classification in life threatening condition. 2) to make policy suggestions on nursing services system of Traffic accident patients care in life threatening condition, Emergency Department Chiangrai Prachanukroh Hospital. The scope of population were medical records. Sample was Traffic accident patients care in life threatening condition 123 issues. Framework was Systems Theory. Use Evidence-Based Practice Model for development nursing services system,Tools used is a follow-up patients. Created to collect information about patients care. Approach to patient care and life-threatening accident condition. The data was analyzed by the frequency distribution numbers and percent. Finally, development the Policy Recommendations of nursing services system of Traffic accident from 15 persons of social actors, Data were analysis by content analyses.

          Results of the medical records 123 issues was male 86 cases( 69.92%) Female 37 cases( 30.08%). The patients category were resuscitate 11 cases( 8.94%) emergency 53 cases( 43.09%) urgent 59 cases(47.97% ), A duration of admit 1-7 days have most 100 cases( 81.30%). The status after admit in hospital were discharge highest 101 cases (82.10%) Died 12 cases (9.76%) Nurses used practice guidelines for accident patients care in the lifethreatening to comply fully 116 cases( 94.31%) and 100% agree with the development of nursing services system. Data can be useful to development nursing services system in life-threatening condition such as Traffic accident patients care in Chiangrai Province.

          Suggestions for development of nursing services system of Traffic accident patients care in life threatening condition. Also the guidelines should seek to improve the nursing services system to become a proactive operation that needs to have strong collaborative partnerships with all sectors in Pre-hospital Emergency Care System, in hospital and Postdischarge Care for administration systems, services system and nursing cares system.

 

References

 

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). 10 อันดับการตาย, กระทรวงสาธารณสุข.

Dries,D.J.(2006) Initial evaluation of the trauma patient. Retrieved August 14,2006,from http://www.emedicine.com/

โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์.(2559).รายงานประจำปี 2559. มปท. เชียงราย.

Wrathall, G. , Sinclair, R. .(2006) The Management of Major trauma. Retrived Jule 25: 2006. From http:// www.fsm.ac.fj /sm/anaesthesia/WFSA/html/u06/006-003.htm

Soukup, S. M. (2000) The center for advanced nursing practice evidence-based practice model. The Nursing Clinics of North America: 2000. 35(2), 301-309.

กรองได อุณหสูต และ คณะ (2554). คู่มือการปฏิบัติงานพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุ หน่วยงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน . กรุงเทพฯ: ก้องการพิมพ์.

Veena Chatrath, Ranjana Khetarpal, Jogesh Ahuja J Anaesthesiol Clin Pharmacol. (2015) Fluid management in patients with trauma: Restrictive versus liberal approach. 2015 Jul-Sep; 31(3): 308–316

Wrathall, G. , Sinclair, R. (2006) The Management of Major trauma. Retrived Jule 25: 2006. From http://www.fsm.ac.fj /sm/anaesthesia/WFSA/html/u06/006-003.htm

Buck A, Maini A. (2013) Trauma reception and resuscitation. In: Buck A, Maini A. editors. Emergency Trauma Management Course Manual. Version 1.2. iBook. pdf version. p 21

Muhlberg, A. H., Ruth-Sahd, L (2004) Holistic Care: Dimensions of Critical Care Nursing, 33(2), 55-59.

วันที่โพส วันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 15.44 น. , อ่าน 480 , โพสโดย กลุ่มแผนงาน





Full Text | ดาวน์โหลด 233 ครั้ง