การศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด ( Opinions of Personnel Regarding the Procurement Management in General Administration Work, Trat Provincial Health Office )
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุ และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพงานพัสดุ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด โดยทำการศึกษากับกลุ่มประชากร ผู้ปฏิบัติงานพัสดุ ผู้ที่ใช้บริการงานพัสดุ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด และผู้ที่ใช้บริการงานพัสดุจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอในสังกัด รวมทั้งหมด จำนวน 117 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารพัสดุของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด พบว่า ด้านการจัดหาพัสดุโดยรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารพัสดุในระดับดี (μ = 3.43) เมื่อพิจารณาตามขั้นตอนการดำเนินการ พบว่ากระบวนการจัดทำแผนการจัดซื้อ/จัดจ้าง ประจำปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารพัสดุในระดับปานกลาง (μ = 3.35) กระบวนการกำหนด คุณลักษณะเฉพาะ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารพัสดุในระดับดี (μ = 3.42) กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารพัสดุในระดับดี(μ = 3.48) และกระบวนการตรวจรับพัสดุ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารพัสดุในระดับดี (μ = 3.48) ด้านการควบคุมดูแลพัสดุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารพัสดุในระดับปานกลาง(μ = 3.33) ด้านการจำหน่ายพัสดุ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารพัสดุในระดับดี (μ = 3.47) ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพงานพัสดุ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด ควรมีการพัฒนา 6 ด้านดังนี้ ด้านการจัดการความรู้ ด้านการสื่อสารข้อมูล ด้านการกำหนดรายการพัสดุ ด้านการมอบหมายหน้าที่การงาน ด้านการใช้เทคโนโลยี และ ด้านระยะเวลา
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ควรจัดอบรม ระเบียบ กฎหมาย ด้านการพัสดุของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการคลัง ให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านพัสดุ ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับการพัสดุ ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด ได้รับการศึกษาอบรมเพิ่มเติมด้านพัสดุ พัฒนาด้านการจัดเก็บ จัดให้มีคลังพัสดุที่มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย การจัดทำทะเบียนการตรวจสอบ บันทึกบัญชีคุมพัสดุ และตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ และมีการควบคุมติดตามจากผู้บังคับบัญชา สื่อสารประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ทางเว็บไซต์สำนักงาน ในด้านต่างๆ เช่นการสำรวจความต้องการพัสดุ รายการพัสดุที่จะจัดซื้อ และการจำหน่ายพัสดุ
This study is a survey research with the purpose to examine the opinions of personnel regarding the procurement management and the opinions of personnel regarding the guideline to improve the quality of procurement work in general administration work, Trat provincial health office. The study was conducted with 117 populations who were personnel who perform procurement work and service recipient of procurement work in Trat provincial health office. Instrument used in this study was a questionnaire created by the author with the confidence level of 0.81. Statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation.
Research results revealed the opinion of the personnel regarding the procurement management of Trat provincial health office on the procurement management was in good level (μ = 3.43). When implementation steps were considered, the process of preparing annual procurement plan had the opinion regarding procurement management in intermediate level (μ = 3.35). Specification determination process had the opinion regarding procurement management in good level (μ = 3.42). Procurement procedure had the opinion regarding procurement management in good level (μ = 3.48). Receipt process had the opinion regarding procurement management in good level (μ = 3.48). Supplies control had the opinion regarding procurement management in intermediate level (μ = 3.33). Supplies distribution had the opinion regarding procurement management in good level (μ = 3.47). In the opinions of personal regarding the guideline to improve the quality of procurement work in general administration work, Trat provincial health office, knowledge management, communication, supplies list determination, work assignment, technology implementation and time frame should be improved.
The research suggested that training on regulation and law regarding the procurement management of the Ministry of Public Health and Ministry of Finance should be provided to the personnel who perform procurement works in order to educate the personnel who perform procurement works under Trat Provincial Health Office with additional knowledge about procurement. Storage should be improved in order to have a stable, strong and safe storage place. There should be inspection record and supplies control record. The inspection should be done regularly. The supervisor should monitor the work and there should be public relation media on the office’s website such as supplies demand survey, list of supplies to be procured and supplies distribution.
References
ธเนศ หอมหวน. (2553). ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารงานพัสดุโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. งานนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
เบญญาภา ยาโตปมา และ พิพัฒน์ ไทยอารี. (2558). การบริหารพัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ ของสำนักปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
รัตนา เนตรทัศน์. (2554). สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์.
ลาวัลย์ นนทะสี. (2554). สภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 26. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
วรรณชัย รังสี. (2550). การบริหารพัสดุและสินทรัพย์อย่างมีคุณภาพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 ราชบุรี. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมบูรณ์ อุสาหะจิตต์. (2553). สภาพและปัญหาการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์น.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). เอกสารประกอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด. (2560). การประชุมเชิงปฏิบัติการค้นหาความเสี่ยงในงานบริหารงานทั่วไป. 15-16 กุมภาพันธ์ 2560 ณ ห้องประชุมวัดหนองเสม็ด จ.ตราด.
อุรา วงศ์ประสงค์ชัย และคณะ. (2556). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานพัสดุ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 7 (139 - 148) ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2556.
วันที่โพส วันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 15.43 น. , อ่าน 293 , โพสโดย กลุ่มแผนงาน