วารสารวิชาการ

Vol 13, No 2 (2017): กรกฏาคม - ธันวาคม 2560

วารสารวิชาการ ปี 2017, ปีที่ตีพิมพ์ 2017


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการซ่อมครุภัณฑ์การแพทย์ โรงพยาบาลตรัง ( THE COMPARISON EFFICIENCY OF REPAIR MEDICAL APPLIANCE TRANG HOSPITAL )

Abstract

 

          การวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการซ่อมครุภัณฑ์การแพทย์โรงพยาบาลตรัง เป็นการวิจัย กึ่งทดลองศึกษาข้อมูลย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการซ่อมครุภัณฑ์การแพทย์ตามระบบการซ่อมบำรุงรักษาครุภัณฑ์การแพทย์ปี 2560 และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการซ่อมด้านความทันเวลาและความคุ้มค่าก่อนและหลัง นำระบบมาปฏิบัติ ประชากรที่ศึกษาเป็นครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์และการแพทย์ ประเภท 6515 ที่ชำรุดที่แผนกงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ได้ซ่อมจนสามารถใช้งานได้เต็มความสามารถและตรงกับวัตถุประสงค์ที่จัดหามากที่สุด เก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิจากใบขออนุมัติซ่อมครุภัณฑ์การแพทย์ กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มเป็นอิสระจากกัน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยการจับคู่ตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มละ 117 ตัวอย่าง เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตเครื่องให้ออกซิเจน เครื่องตรวจติดตามการทำงานและรักษาหัวใจ และเครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS FOR WINDOWS สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test

          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างของกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลอง มีคุณลักษณะเป็นครุภัณฑ์การแพทย์รายการเดียวกัน มีสาเหตุการชำรุด มีอายุการใช้งานและมีราคาทุนในการจัดหาไม่แตกต่างกัน มีสัดส่วนวิธีการซ่อมที่แตกต่างกันโดยซ่อมวิธีใช้วัสดุ/อะไหล่ ร้อยละ 18.80, 53.00 ตามลำดับ ผลการซ่อมตามระบบทดลอง มีความทันเวลาการซ่อมเฉลี่ย 6.01 วัน มีผลตอบแทนที่ได้รับเฉลี่ย 50,626.56 บาท เปรียบเทียบประสิทธิภาพการซ่อมด้านความทันเวลา กลุ่มทดลองมีประสิทธิภาพด้านความทันเวลาสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการซ่อมด้านความคุ้มค่า ทั้งสองกลุ่มมีประสิทธิภาพการซ่อมด้านความคุ้มค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การนำระบบการซ่อมบำรุงรักษาครุภัณฑ์การแพทย์ปี 2560 มาปฏิบัติสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการซ่อมด้านความทันเวลาได้ แต่ยังไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการซ่อมด้านความคุ้มค่าได้ เนื่องจากการซ่อมวิธีใช้วัสดุ/อะไหล่ มีต้นทุนรวมสูงขึ้นจากต้นทุนค่าวัสดุ/อะไหล่และต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น ควรนำผลการศึกษาไปใช้ในการบริหารพัสดุและซ่อมบำรุงให้มีประสิทธิภาพการซ่อมด้านความคุ้มค่าต่อไป และควรทำการวิจัยโดยใช้ต้นทุนค่าแรงของผู้ปฏิบัติงานรายบุคคลแทนการใช้ค่าเฉลี่ยรายจ่ายค่าแรง เพื่อให้มีผลประเมินประสิทธิภาพด้านความคุ้มค่ามีความถูกต้องยิ่งขึ้น

          This‘s research of the comparison efficiency of repair medical appliance Trang hospital was the experimental research to study retrospective data. The objective was study result of repair medical appliance on the repair medical appliance 2017 system. We had comparison efficiency before and after two repairing sides were repaired timely and value then bring the system that’s practice in department routine taken the population study were science appliance and repair medical appliance type no.6515 on medical appliance dilapidated until electronic engineers were repaired the most completely serve with objective then we collected data from secondary data from request approved order by 2 sample group Independent of each other and specific section by matching on specification each sample group 117 sample were blood pressure meter, oxygen machine, vascular solution, work monitor and heart monitor and breathing apparatus then we analyzed using statistical software for window by SPSS were percentage, average and standard deviation statistics, t-Independent-test.

          The study result of sample group between the comparison group and experimental group had the feature the same as medical divide the dilapidated factor was not different between the long lifetime and procurement cost and the ratio repairing was different by repairing used 18.80 % of material plus and 53.00% of spare the result of repairing on experimental system were repaired timely average 6.01 days have got a compensation average 50,626.56 baht the comparison efficiency repairing timely experimental group because it had a higher of efficiency repairing timely comparison group was difference was statistically significant (p <0.05). The comparison efficiency of repairing value. The two group of efficiency of repairing value it was not difference was statistically significant (p <0.05). the implementation of the repair medical appliance 2017 system have done practice routine that’s can addition efficiency repairing more timely but it haven’t addition of the efficiency repairing value yet because the repairing used material plus and spare have the total between capital and labor cost were higher cost then we should bring the study result to integrate in package management and maintenance to efficacy repairing value and we have communicated to next research by should use principal of labor cost each personal take over support the average payroll for evaluation efficiency be break even more.

 

References

 

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 2546. ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 120 ,ตอนที่ 100 ก. (ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2546).

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ 2535 สำนักนายกรัฐมนตรี. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี; 2535.

กองวิศวกรรมการแพทย์. คู่มือการจัดระบบวิศวกรรมการแพทย์ในโรงพยาบาล. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2558.

สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข. การจัดทำรายงานการสำรวจครุภัณฑ์และการกำหนดเลขหมายพัสดุ เล่ม 3.นนทบุรี: สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข; 2536.

สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2546.

กชพร ลาภสุวรรณสกุล, ดามพรรณ คูณค้ำ. การวิเคราะห์ต้นทุนบริการทางบัญชี และต้นทุนบริการทางเศรษฐศาสตร์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2555.

กุรุพินท์ เวชทรัพย์. การสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการวางแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์การแพทย์ในโรงพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลตัวอย่าง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2548.

วันที่โพส วันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 15.42 น. , อ่าน 168 , โพสโดย กลุ่มแผนงาน





Full Text | ดาวน์โหลด 86 ครั้ง